WELCOME

ยินดีต้อนรับ สู่ KhunPlaiR







วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมถุง อันตรายที่ซ่อนในความเค็ม





กินขนมถุงเยอะขึ้น ไตถูกทำลายมากขึ้น
ทำความรู้จักกับ โซเดียม
โซเดียมเป็นสารอาหารที่สำคัญในตระกูลเกลือแร่ โซเดียมจัดอยู่ในกลุ่มอีเลคโทรไลต์ เมื่อละลายน้ำจะแยกตัวออกเป็น ไอออนที่มีประจุไฟฟ้าบวก โซเดียมมีมากที่สุดที่น้ำนอกเซลล์ โดยควบคุมความดันออสโมติกเพื่อรักษาปริมาณของน้ำนอกเซลล์ โซเดียมจะถูกดูดซึมได้ตลอดทางเดินอาหาร น้อยที่สุดที่กระเพาะอาหาร และมากที่สุดที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง โซเดียมยังช่วยรักษา ความเป็นกรดและด่างของร่างกาย ช่วยนำซูโครสและกรดอะมิโน ไปเลี้ยงร่างกาย
ความสำคัญของ ไต
ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายมีขนาดประมาณกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของรูปร่าง คล้ายถั่วแดงอยู่ด้านหลังทั้ง 2 ข้างของลำตัว ในแนวระดับของกระดูกซี่โครงล่าง (หรือเอง หรือเหนือระดับสะดือ) มีหน้าที่หลักในการขัดกรองของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากเลือด และยังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมสมดุลของเกลือแร่ และกรดด่างในร่างกาย หลั่งฮอร์โมนช่วยควบคุมความดันโลหิต หลั่งฮอร์โมน ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และสร้างวิตามิน ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตหากไตไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เพียงพอ เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ หรือมีโรคแทรกจะทำให้ระดับของเสีย และปริมาณน้ำคั่งค้างในร่างกาย หรือในเลือด จะปรากฏอาการเหล่านี้ คือ ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีเลือดในปัสสาวะ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีเลือดในปัสสาวะ มีอาการบวมที่มือและเท้า ปวดหลังในระดับชายโครง
ความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย มีสาเหตุที่สำคัญมาจากเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ต้องรักษาโดยการล้างไต หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต หากรักษาโรคทั้งสองนี้ได้ก็จะทำให้โรคไตที่เกิดขึ้นทุเลา หรือชะลอการเปลี่ยนแปลงได้
โซเดียมมีความสัมพันธ์กับไตอย่างไร
ไตมีหน้าที่ขจัดของเสีย ยา สารพิษที่ละลายในน้ำออกทางปัสสาวะ
ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
รักษาปริมาณน้ำในร่างกาย โดยสงวนเก็บน้ำไว้ระบายน้ำส่วนที่ร่างกาย ไม่ต้องการออกจากร่างกาย
รักษาปริมาณของโซเดียมในยามที่ร่างกายขาดโซเดียม ระบายโซเดียมที่มากเกินต้องการออกทางปัสสาวะ ในกรณีที่ได้รับโซเดียมมากเกินไป
ดัง นั้นถ้าไตปกติจึงไม่มีอันตรายจากโซเดียมคั่งค้าง ไตมีหน้าที่ขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย โซเดียมจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ บางส่วนจะออกมาทางอุจจาระและเหงื่อ และเมื่อสมรรถภาพของไตเสื่อมลง การคั่งของของเสียจะเกิดขึ้น รวมทั้งไตไม่สามารถขับโซเดียมส่วนเกินออกได้ ทำให้โซเดียมคั่งอยู่ในเลือด ทำให้ผู้ป่วยโรคไตจำเป็นต้องลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือโซเดียมน้อยลง
คนปกติมีความต้องการโซเดียมประมาณ 1,100-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน เราได้โซเดียมจากอาหารรวมกับคลอไรด์ ในรูปของโซเดียมคลอไรด์ที่เรียกว่า เกลือแกง นอกจากนี้จะได้โซเดียมจากเครื่องปรุงรสทุกชนิด ที่มีเกลือแกงเป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำปลา ผงชูรส ซอสซีอิ้วปรุงรส กะปิ อาหารหมักดอง ผัก-ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม ฯลฯ การรับประทานขนมถุงที่ มีเกลือโซเดียมในปริมาณมาก หรือทานทีเดียวหลาย ๆ ถุงจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเพิ่มมากขึ้นจากอาหารปกติ ทำให้มีปริมาณโซเดียมส่วนเกินคั่งอยู่ในเลือดมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ไตถูกทำลายมากขึ้น


ข้อมูลจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น